วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

องเมียว


 องเมียวโด หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า องเมียว คือ รูปแบบวิชาเวทมนตร์โบราณแขนงหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานมาจากโหราศาสตร์และลัทธิเต๋าในประเทศจีน
คาดว่าเข้ามาสู่ญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนจะผสมผสานเข้ากับความเชื่อ วิถีชีวิต ขนบประเพณีของชาวญี่ปุ่นจนมีรูปแบบเฉพาะตัว โดยเชื่อว่าสรรพสิ่งประกอบด้วยธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และหล็ก และมีพลังเป็นบวกหรือลบ (หยิน-หยาง) ที่จะสร้างความสมดุลให้เกิดความรุ่งเรือง หรืออาจต่อต้านกันจนเกิดหายนะได้ ผู้ที่ศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างถ่องแท้ย่อมหยั่งรู้และนำพลังธรรมชาติมาเป็นอำนาจของตนได้ รูปแบบเวทมนตร์นั้นมีทั้งการทำพิธีปัดเป่าโรคภัย พิธีบูชาเทพยดา การปลุกเสกยันต์ เครื่องราง การควบคุมภูตผี ตลอดจนการสาปแช่ง เป็นต้น ซึงเป็นลักษณะความเชื่อของศาสนาชินโต ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นอย่างยิ่ง เช่น การเพาะปลูกซึ่งพึ่งพาการทำนายสภาพอากาศ การประกอบพิธีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลต่างๆ ตลอดจนการทำพิธีปัดเป่าสิ่งอัปมงคลที่ทำให้เกิดเภทภัยต่างๆ โดยเฉพาะการทำนายโชคชะตาตามตำราอี้จิง ซึ่งถือเป็นวิชาทำนายอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่องเมียวค่อยๆ ลดบทบาทเรื่องเวทมนตร์และผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับศาสนาชินโต ทว่าปัจจุบัน พิธีกรรมสำคัญหลายพิธีกรรมยังจำเป็นต้องให้นักพรตองเมียวเป็นผู้ประกอบพิธีอยู่
นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังได้ถ่ายทอดตำนาน เรื่องเล่า และความเชื่อเกี่ยวกับองเมียวไว้หลายวิธีทั้งการเล่าสืบต่อกันมา การบันทึก เช่นในหนังสือคอนจาคุโมโนกาตาริ (Konjaku Monogatarishū) ที่รวบรวมเรื่องราวบางตอนซึ่งเกี่ยวข้องกับองเมียวไว้ หรือการนำองเมียวไปใช้ในการสร้างการ์ตูนหรือภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งนอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการประยุกต์ที่น่าสนใจ เพราะนำความทันสมัยมาใช้อนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณอันสะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    หยิน-หยาง (yin-yang) พลังซึ่งคู่กัน หากเท่ากันจึงจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน เป็นต้น (สิ่งแรกในแต่ะคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน) ภาพวงกลมสีขาว - ดำ คือ สัญลักษณ์ของคู่พลัง และเป็นสัญลักษณ์ของลักธิเต๋าเช่นกัน
ธาตุทั้งห้า ความสัมพันธ์ของธาตุทั้งห้าถือเป็นหลักสำคัญขององเมียว นอกจากนี้ ฮวงจุ้ย ตำราแพทย์จีนโบราณ และศาสตร์ต่างๆ ของประเทศแถบตะวันออกจำนวนมากล้วนมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์นี้ ซึ่งอธิบายได้ว่า ทุกสิ่งจะมีธาตุเจ้าเรือนของตน หากจัดความสัมพันธ์ให้ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ รุ่งเรือง โดยน้ำดับไฟ ไฟหลอมเหล็ก เหล็กตัดไม้ ไม้ทำลายดิน และดินกั้นน้ำ

โอดะ คาสึซาโนะสึเกะ โนบุนากะ

ญีปุ่นในช่วงปี ค.ศ. 1500 - 1700 เกิดสงครามครั้งใหญ่ ทำให้ประเทศชาติมีแต่ความหายนะ อำนาจของ โชกุน ผู้ปกครองประเทศถูกแก่งแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ทำให้โชกุนในสมัยนั้นคือ "ตระกูลอะชิคะงะ"ถูกแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้บรรดาไดเมียวทั้งหลายที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่อง ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับการปกครองของโชกุนทำให้ญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นก้าวเข้าสู่สภาวะ สงครามกลางเมือง ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปีในยุคเซงโงะกุ ในช่วงมืดของญี่ปุ่นได้มีขุนพลนักรบผู้หนึ่งเป็นผู้ผลิกผันโฉมหน้า ประวัติศาสตร์ ของญี่ปุ่น โอะดะ โนะบุนะงะ ก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือสุด เป็นผู้คุมประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในช่วงระหว่างสงคราม
                 โนบุนากะ เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองโอะวะริ โอะดะ โนบุฮิเดะ ในปี ค.ศ. 1534 มีนามเดิมว่า โอะดะ คิปโปชิ เป็นบุตรชายคนรองของตระกูล ได้ปกครองเมืองโอะวะริต่อจากบิดา ควบคุมและปราบบรรดาญาติผู้ใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เขาขึ้นครอบครองเมืองต่อจากบิดา ซึ่งทางน้องชายโอะดะ โนะบุยุกิ ได้วางแผนก่อกบฏขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ โอะดะ โนะบุนะงะได้วางแผนแกล้งว่าป่วยไปทางนายทหารคนสนิท ซึ่งทางโนะบุยุกิหลงเชื่อ จึงได้เข้าไปเยี่ยมและถูกลอบสังหารที่ปราสาทคิโยะสุของโนบุนากะ โอะดะ โนะบุนะงะ จึงได้ครองแคว้นโอะวะริ ในปี ค.ศ. 1559
ในปี ค.ศ. 1560 อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ ไดเมียว ผู้ครองเมืองมิคะวะ นำกองกำลังทหารจำนวนมากเข้าบุกโจมตีเมืองโอะวะริ แต่ถูกโนะบุนะงะตีกองทัพแตกกระจายและชัยชนะในการทำศึกครั้งนั้น ทำให้ชื่อเสียงของโนะบุนะงะลือกระฉ่อนไปทั่วแผ่นดิน และในปี ค.ศ. 1560 โอะดะ โนะบุนะงะได้ผูกสัมพันธ์กับไดเมียวในตระกูลต่าง ๆ และยกกองกำลังของตนเข้าทำ สงคราม กับไดเมียวที่ไม่ยอมผูกสัมพันธ์ด้วย จนได้รับชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1567
หลังจากได้รับการร้องขอจากองค์จักรพรรดิ เพื่อช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากอำนาจของตระกูลอะชิคะงะ และช่วยคืนอำนาจการปกครองให้แก่พระองค์ โนะบุนะงะยอมเข้าช่วยเหลือโดยการยกกองกำลังโจมตี เมืองหลวง ขององค์จักรพรรดิ จับกุมตัวโชกุน อะชิคะงะ โยะชิอะกิ และบีบบังคับให้เป็นหุ่นเชิดของตนเอง ซึ่งจากความดีความชอบในครั้งนั้น ทำให้องค์จักรพรรดิ์พระราชทานรางวัลให้แก่โนะบุนะงะ แต่งตั้งให้เขาเป็น ไนไดจิน หรือเอกอัครมหาเสนาบดี มีอำนาจเป็นอย่างมาก โนะบุนะงะเป็นไนไดจินจนถึงปี ค.ศ. 1573 อะชิคะงะ โยะชิอะกิ หุ่นเชิดของโนะบุนะงะคิดกระด้างกระเดื่องต่อโนะบุนะงะ จึงถูกจับตัวมาลงโทษและขับไล่ออกจากเมืองหลวง เป็นอันสิ้นสุดอำนาจการปกครองของโชกุนตระกูลอะชิคะงะ ที่ปกครองประเทศญี่ปุ่นมายาวนานกว่า 200 ปี
โนะบุนะงะเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง "กองกำลังทหารอะชิงะรุ" ซึ่งมาจากบรรดาชาวบ้านธรรมดาที่อยากมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองในการทำสงคราม ให้โอกาสผู้ที่อยากเป็นทหารแต่ไม่มีโอกาสได้เป็น ซึ่งจะแตกต่างจากไดเมียวคนอื่น ๆ กองกำลังของโนะบุนะงะจึงเป็นกองทัพที่มาจากชาวบ้านธรรมดา ไม่เหมือนกองกำลังอื่นๆ ของไดเมียวที่มีแต่ ซามูไร จำนวนมาก
กองกำลังอะชิงะรุแม้จะมาจากชาวบ้านธรรมดา แต่ทว่าพวกเขามาด้วยใจที่รักบ้านเมือง แตกต่างจากซามูไรที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง กองกำลังอะชิงะรุนั้นแม้มีศักยภาพในการทำสงครามไม่แพ้พวกซามูไร แต่ก็แตกต่างกับซามูไรผู้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ตั้ง ที่ยอมพลีชีพในสงครามอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ถ้าถูกจับตัวได้จะไม่มีการซัดทอดโดยเด็ดขาด ยอมแม้แต่จะฮาราคีรีตัวเองเพื่อไม่ต้องตายโดยน้ำมือผู้อื่น
กองกำลังอะชิงะรุพ่ายแพ้สงครามบ้างเป็นครั้งคราวเพราะความกลัวตาย ทำให้โนะบุนะงะต้องวางแผนในการทำสงครามใหญ่ ในระหว่างนั้นมีชาวโปรตุเกส เข้ามาติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่น และเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และปืน อาวุธที่ช่างโปรตุเกสนำมาด้วย หลังจากได้ศึกษาปืนของชาวโปรตุเกสแล้ว โนะบุนะงะมองเห็นว่าอาวุธชนิดนี้สามารถสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่งให้แก่ตนได้
ในปี ค.ศ. 1544 โนะบุนะงะก็สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นแกะและสร้างปืนตามแบบฉบับของชาวโปรตุเกส โดยก่อตั้งโรงงานผลิตอาวุธขึ้น สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นผลิตปืนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อไดเมียวทั้งหลาย เห็นศักยภาพอาวุธปืนของโอะดะ ต่างพากันหันมาเปลี่ยนอาวุธจากเดิมคือ ดาบ, ธนู หรือธนูเพลิง มาเป็นอาวุธปืนเช่นเดียวกับโนะบุนะงะแทบทั้งสิ้น เพราะอาวุธปืนนั้นสามารถฝึกฝนการใช้งานได้อย่างง่าย ไม่เหมือนกับดาบหรือธนูที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนอย่างยาวนาน
แม้ศัตรูอย่าง อะชิคะงะ โยะชิอะกิ อดีตโชกุนผู้เป็นหุ่นเชิดของโนะบุนะงะจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่โนะบุนะงะกลับยังมีศัตรูจำนวนมากที่เป็นปรปักษ์กับเขา หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของเขาคือ พระ นักพรต และนักรบ พระนักรบและนักพรตจำนวนมากต่อต้านและท้าทายอำนาจของโนะบุนะงะ เขาทำสงคราม กวาดล้างพระนักรบหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งการรบกันระหว่างพระนักรบและโนะบุนะงะครั้งที่สำคัญที่สุดคือ การบุกเข้าทำลายล้างสำนักสงฆ์ของพระนักรบบนเทือกเขาฮิเออัน ซึ่งเป็นพุทธสถานที่เก่าแก่ มีอายุหลายพันปี
ในการทำสงครามกวาดล้างสำนักสงฆ์ของกลุมกบฏอิคโค อิคิ โนะบุนะงะสั่งการให้กองกำลังทหารจำนวนมากกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออันก่อนจะตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซะกะโมะโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ของอิคโค อิคิ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระนักรบ และการกวาดล้างพระนักรบในครั้งนี้เองที่โนะบุนะงะได้แสดงความโหดร้ายออกมาอย่างชัดเจน เขาออกคำสั่งให้ฆ่าทุกคนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาฮิเออันจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงหรือเด็กทารก สั่งให้กองกำลังทหารของตน เผาทำลายบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย และให้กองกำลังทหารของเขาบุกโจมตีพระพุทธสถานแห่งอื่น ๆ ที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฎต่อเขา
จากการทำสงครามกับสำนักสงฆ์ที่โนะบุนะงะได้แสดงความเหี้ยมโหดออกมาอย่างชัดเจน ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่ว ถึงกระนั้นโนะบุนะงะก็ยังคงเป็นขุนพลนักรบที่มีวัสัยทัศน์กว้างไกล เขาไม่ได้ทำลายเมืองซะคะอิ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากไม่ทำลายแล้วยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือแก่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ประกอบการค้าขายรายใหญ่ๆ ของเมืองซะคะอิ เขาวางรากฐานของการค้าและเศรษฐกิจอย่างดี โดยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าแม่ค้าในด้านภาษีอากร ควบคุมการชั่ง การตวง และวัดสิ่งของให้ได้ตามระบบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นในขณะนั้นไม่ได้มีแต่ด้านมืดด้านเดียวอย่างที่ควรจะเป็น โอะดะ โนะบุนะงะอาจจะดูโหดร้าย สร้างศัตรูไว้มากมาย แต่เขาก็ยังสามารถยืนหยัดต่อสู้มาอย่างโชกโชน จวบจนวาระสุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของคนสนิทของเขาเอง อะเคะจิ มิสึฮิเดะ
โนะบุนะงะครองอำนาจในสมัยเอโดะยาวนานกว่า 48 ปี ก็ถึงคราวสูญสิ้นอำนาจ โดยถูกอะเคะจิ มิสึฮิเดะ นายทหารแม่ทัพคนสนิทของ โอะดะ โนะบุนะงะ เป็นผู้สังหารเนื่องจากถูกโนะบุนะงะทำให้อับอายต่อหน้านายทหาร
ในปี ค.ศ. 1582 เกิดสงครามที่คีวชู โนะบุนะงะจึงส่งกองกำลังทหารจากเกียวโตไปปราบปราม ระหว่างทางมิสึฮิเดะได้ตลบหลังโนะบุนะงะ นำกำลังทหารของตนเองย้อนกลับมายังปราสาทอะชิซึ เพื่อล้างแค้นความอับอายขายหน้าที่โนะบุนะงะได้สร้างไว้แก่ตน
อะเคะจิ มิสึฮิเดะ คุมกองกำลังทหารจำนวนมาก เข้าตีโอบล้อมโนะบุนะงะที่เดินทางออกจากปราสาทอะชิซึ ไปพักอยู่ที่วัดฮนโนจิ จากการถูกตลบย้อนหลังด้วยนายทหารคนสนิท ทำให้โนะบุนะงะโกรธแค้นและด้วยศักดิ์ศรีของโนะบุนะงะยอมทำฮาราคีรี หรือการคว้านท้องตนเองเพื่อไม่ให้ชีวิตของตนต้องถูกผู้อื่นประหาร เป็นการปิดฉากนักรบผู้เป็นตำนานของญี่ปุ่นอย่างสมศักดิ์ศรี
อะเคะจิ มิสึฮิเดะ นำกองกำลังทหารย้อนกลับไปยังปราสาทนิโจซึ่ง โอะดะ โนะบุทะดะ ผู้เป็นบุตรชายของโนะบุนะงะครอบครองอยู่ และบุกทำลายล้างปราสาทนิโจก่อนจะสังหารโนบุทาดะเสียชีวิต สิ้นสุดการปกครองอำนาจของตระกูลโอะดะซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายการรวมประเทศญี่ปุ่น หลังจากล้มล้างทำลายตระกูลโอะดะสำเร็จแล้ว อะเคะจิ มิสึฮิเดะก็ถูกลอบสังหารเช่นเดียวกันที่เมืองยะมะซะกิ จากกองกำลังทหารและนักรบซามูไรของตระกูลโอะดะซึ่งนำโดยโทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิ นายทหารคนสนิทของโนะบุนะงะอีกคนที่นำกำลังทหารมาล้างแค้นให้แก่นายของเขา ก่อนจะเป็นผู้รวบรวมประเทศญี่ปุ่นต่อจากโนะบุนะงะ

อนุกรมเรขาคณิต

เรขาคณิต
เรขาคณิต   เป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงตำแหน่ง เรขาคณิตเป็นหนึ่งในสองสาขาของคณิตศาสตร์ก่อนยุคใหม่, โดยอีกสาขานั้นศึกษาเกี่ยวกับจำนวน
อนุกรมเรขาคณิต
อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต   เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต  และ อัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต
จะเป็นอัตราส่วนร่วมของ อนุกรมเรขาคณิตด้วย

กำหนด      a1,    a1r,    a1r2,   …,   a1r n-1   เป็นลำดับเรขาคณิต
             จะได้          a1    +  a1r  +  a1r2  + … + a1r n-1  เป็นอนุกรมเรขาคณิต
              ซึ่งมี       a1  เป็นพจน์แรก  และ  r  เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
    จากบทนิยาม  จะได้ว่า ถ้า  a1,   a2,   a3,   …,   an   เป็น ลำดับเรขาคณิต ที่มี n  พจน์
    จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป
      a1  +  a2  +  a3 +   +  an           ว่า  อนุกรมเรขาคณิต 
    และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต จะเป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิตด้วย

โครงสร้างสามมิติ

โครงสร้างสามมิติ(3D-Structure)
เอาไซน์เป็นโปรตีนที่ช่วยเร่งปฏิกริยา และทำงานโดยการลดพลังงานกระตุ้น (Activation energy) ให้เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ยังเร่งให้เกิดเร็วขึ้นซึ่งสามารถทำให้เร็วได้ถึงหนึ่งในหลายล้านส่วน แต่ไมมีผลต่อความสมดุล(Equilibrium) ของปฏิกิริยาเคมี
เอนไซม์ ไม่มีผลต่อพลังงานสัมพัทธ์ (relative energy) ระหว่างสารที่ได้จากปฏิกิริยา (products) และสารที่ทำปฏิกิริยา(reagents)
ในเอนไซม์ก็เช่นเดียวกับโปรตีนอื่น การทำงานของมันจะถูกกำหนดโดยโครงสร้าง มี
โปรตีนโมเลกุลเดี่ยว คือ ประกอบด้วยโซ่พอลิเปปไทด์อันเดียว ที่เกิดจาก อะมิโน แอซิด (amino acid)ประมาณ 100 โมเลกุลหรือมากกว่า หรือ โอลิโกเมอริก โปรตีน (oligomeric protein) ประกอบด้วยโซ่พอลิเปปไทด์หลายเส้น มีทั้งที่เหมือนและแตกต่างมารวมเชื่อมต่อเป็นหน่วยเดียวกัน
ในโปรตีนแต่ละ โมโนเมอร์ จะมีลักษณะเป็นโซ่ยาวของ อะมิโน แอซิด ซึ่งจะพับและทบกันไปมาเป็นโครงสร้าง 3 มิติในแต่ละ โมโนเมอร์ จะเชื่อมต่อและเกาะกันด้วยแรง นอน-โควาเลนต์ (non-covalent interactions)และเกิดเป็น มัลติเมอริก โปรตีน (multimeric protein)
เอนไซม์ส่วนใหญ่จะมีโมเลกุลขนาดใหญ่กว่า ซับสเตรต (substrates) ที่มันจะทำหน้าที่เร่ง และส่วนที่เล็กมากของเอนไซม์เท่านั้น คือขนาดประมาณ 10 อะมิโน แอซิด ที่เข้าจับกับซับสเตรต ตำแหน่งที่เชื่อมต่อกับซับสเตรตแล้วเกิดปฏิกิริยานี้เราเรียกว่าแอคทีฟ ไซต์(active site) ของเอนไซม์ บางเอนไซม์มีแอคทีฟ ไซต์มากกว่าหนึ่ง และบางเอนไซม์มีแอคตีฟ ไซต์สำหรับ โคแฟคเตอร์ (cofactor) ด้วย บางเอนไซม์มีตำแหน่งเชื่อมต่อที่ใช้ควบคุมการเพิ่มหรือลดฤทธิ์ ของเอนไซม์ด้วย

Enzyme

เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีเอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปรกติ (malfunction) การขาดเอนไซม์ที่สำคัญอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ การผ่าเหล่าอาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างบางส่วนของเอนไซม์ หรืออาจเป็นบางส่วนของโปรตีน